แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - OddyWriter

หน้า: 1 ... 15 16 17 [18] 19 20 21 ... 35
307
ทำไมต้องแยก SD-01 กับ SD-02 ด้วยครับ ในเมื่อ Data Structure เหมือนกัน น่าจะรวมเป็นตารางเดียวกัน แล้วเพื่อฟิลด์ SD-Type เพื่อแบ่งข้อมูลเป็น SD-01 หรือ SD-02 จะทำให้จัดการได้ง่ายกว่าครับ

308
ในช่อง Criteria ให้ใส่ Like A* ครับ

309
ใช้คำสั่ง Like ใน Query

310
บอกตรงๆ แล้วอย่าโกรธกันนะครับ

คือปกติแล้วเงินเดือนน่ะ เขาจะสร้างเอาไว้อีกตาราง เพราะคน 1 คน ใช้เงินเดือนอัตราเดียวตลอดทุกช่วงเวลา พอปรับเงินเดือนก็ไปแก้หรือปรับที่ตารางนี้ตารางเดียว
แต่ที่คุณทำอยู่ตอนนี้มันจะเหมือน Excel ซะมากกว่า

แนะนำว่าให้แยกข้อมูลเงินเดือนมาอีก 1 ตาราง แล้วดึงไปใช้งาน แบบนี้จะใส่ได้ในทุกจุดที่คุณต้องการครับ

311
ห้อง MS Access / : รวมค่าใน Report
« เมื่อ: 21 ก.พ. 63 , 21:03:32 »


มันจะได้ประมาณนี้ครับ

1. เปิดมุมมองออกแบบแล้วเลือก Design > Group & Sort
2. เลือก Group by ID (อยู่ตรงด้านล่าง)
3. เลือก Text Box ที่หาผลรวม
4. เลือก Totals > Sum

ลองดูนะครับ



312
ขออนุญาตแขร์ความรู้หน่อยนะครับ

ตามปกติแล้ว โปรแกรมพวกนี้เขาจะยอมให้สแกนซ้ำๆ ใน 1 วันได้นะครับ
ทั้งนี้ก็เพื่อความสบายใจของตัวพนักงานเองครับ โดยเฉพาะช่วงปรับตัวของพนักงานจากระบบเดิมมาเป็นระบบใหม่

ถ้าระบบเดิมเป็นการตอกบัตร พอหน่อนเครื่องตอกบัตรปุ๊บ เค้าก็เห็นเวลาในบัตรตอก

แต่ถ้าเป็นระบบสแกนบัตรหรือลายนิ้วมือ เค้าอาจเห็นข้อความในหน้าจอว่าเค้าลงเวลาแล้ว
ปัญหาคือความไม่มั่นใจว่าเมื่อกี้อ่านว่าอะไรนะ ขอซ้ำอีกที (อ่านครั้งแรกรู้แล้ว แต่อยากอีก)

ดังนั้นปัญหานี้จะเกิดแน่นอน

สิ่งที่เขาจัดการกับปัญหานี้คือ

ถ้าเป็นการเข้างาน เขาจะหยิบเวลาเร็วสุดในแต่ละวัน

ถ้าเป็นเวลาออกงาน เขาจะหยิบเวลาหลังสุดในแต่ละวันครับ


313
กดปุ่ม Shift ค้างไว้ตอนเปิดโปรแกรมครับ พอโปรแกรมเปิดเสร็จแล้วค่อยปล่อยนิ้วจากปุ่ม Shift

314
UI = User Interface = ส่วนที่ใช้ติดต่อกับผู้ใช้ = Form

Access ประกอบด้วย ตาราง+คิวรี+ฟอร์ม+รีพอร์ท+มาโคร+โมดูล

เมื่อทำ Split Database จะทำให้ตารางแยกออกมาไฟล์นึง ที่เหลืออยู่อีกไฟล์ และที่เหลือนี่แหละครับคือ UI

ที่เครื่อง client ไม่ต้องลงโปรแกรม MS access ลงเฉพาะ access runtime เท่าน้ันหรือครับ====ใช่ครับ


315
เรื่องนี้อยู่ที่การออกแบบฐานข้อมูลครับ เท่าที่เข้าใจคือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับรูปภาพจะเป็น 1:M ดังนั้นต้องแยกเป็น 2 ตาราง

1. ตารางข้อมูล มี ID เป็น Primary Key
2. ตารางรูปภาพ มี ID เป็น Foreign Key ที่สัมพันธ์กับตารางข้อมูล

จากนั้นนำตารางทั้ง 2 มาสร้างฟอร์มประเภท Main Form/Subform

316
แนะนำดังนี้นะครับ
1. ที่เครื่อง Client ให้ติดตั้งโปรแกรม Access Runtime ซึ่งเป็นตัวใช้งานฟรี เพียงเท่านี้ก็จะล็อคไม่ให้ User เห็นอะไรที่เราไม่ต้องการให้เห็นได้แล้วครับ จะเปิดได้เฉพาะฟอร์มที่เรายอมแล้วครับ (แต่ Client ห้ามลงตัวโปรแกรม Access นะครับ)
2. การ Split Database เป็นการแยกตัว UI ออกจาก DB เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับข้อมูล เพราะตัวที่มักเกิดปัญหาน่ะคือ UI แล้วบ่อยครั้งที่ UI เสียหายแล้วพาเอา DB ไปกับมันด้วย (UI ไม่ยอมตายเดี่ยว) ก็เลยควรแยก UI กับ DB
3. เมื่อทำ Split Database ก็ Copy Shortcut จาก Server ไปวางที่ Client ครับ

317
มือถือเข้าไม่ได้เลยครับช่วงนี้ ต้อง clear cache ทุกครั้ง ถึงเข้าได้ครับ

319
Refresh ปุ๊บ มาปั๊บ
ใช้ Chrome/Windows 10/มีทั้งบน-ล่าง



320
ก็แนะนำไปแล้วไงครับ

ออกแบบตามสายหลักของตระกูล พ่อ > ลูก > หลาน > เหลน > ลื้อ

สามี/ภรรยา ให้เป็นข้อมูลเหมือนกับเบอร์โทร เช่น พ่อมีภรรยาชื่ออะไร ลูกของพ่อนี้มีสามีชื่ออะไร บลาๆๆๆ

เลขบัตร ปชช. ปัญหามันจะมีคั้งแต่ป้อนข้อมูลแล้วครับ
เอาไปทำไม/ เชื่อได้ไหม/ ไม่เห็นต้องใช้เลย/ ปลอดภัยหรือเปล่า...สุดท้ายไม่ให้
ไม่เชื่อคุณลองดูก็ได้นะครับ ผมทำมา 2 ตระกูลใหญ่ๆ แล้ว เจอมาทุกรูปแบบ

ส่วนเรื่องญาติ อา-หลาน อะไรนั่นน่ะ ไม่ต้องไปสนใจ ถ้าคุณวางสายหลักได้ เดี๋ยวเรื่องญาติมันจะมาเอง แล้วคุณจะปวดหัวอีกรอบ เมื่อพบสัมพันธ์ระหว่างญาติห่างๆๆๆ มาแต่งงานกัน ไม่รู้จะนับญาติกันอย่างไร
อีกเรื่องคือ สามี-ภรรยา เป็น 1:1 ไม่ได้ เพราะถ้าเค้าเลิกกันแล้วแต่งงานใหม่ จะทำอย่างไร  ลูกก็มีกับทั้งภรรยาเก่า และภรรยาใหม่ ดังนั้นก็ต้องมีข้อมูลความสัมพันธ์ด้วย เช่น สมรส/หย่า/เสียชีวิต
แล้วถ้า สามีที่มีภรรยาหลายคน จะทำอย่างไร ปี 2019 ผมก็ยังเจอสาแหรกแบบนี้อยู่ครับ

อันนี้เป็นตัวอย่างโปรแกรมที่เคยทำเอาไว้ แต่ให้ดูข้อมูลไม่ได้ จะมีตารางประมาณในนี้รูปนี้ก็พอครับ เวลาจะหาข้อมูลของใครก็พิมพ์ชื่อ นามสกุลข้อไป แล้วดูข้อมูลลูกไล่ลงมาีละชั้น หรือจะดูขึ้นไปทาง พ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยาย ได้






321
ข้อแนะนำมี 2 ข้อ เท่าที่ผมเห็นจากรูป
1. ควรทำ Normalization อย่างต่ำให้ได้ 3NF
2. ควรแยกตาราง "ข้อมูลส่วนบุคคล" ออกจาก tblWork ครับ ตารางใหญ่เกินไป จัดการยาก

322
แนะนำว่าก่อนอื่นคุณต้องเขียนเงื่อนไขออกมาให้หมดก่อนครับ เพราะการทำสาแหรกตระกูลน่ะ เป็นเรื่องที่ยุ่งมากเคยรับมา 2 งาน ราคาหลักหมื่นยังไม่คุ้มกับงานที่ทำเลยครับ (บ่นเฉยๆ)

เงื่อนไขที่ว่าเช่น

1. ข้อมูลย้อนหลังสายตระกูลไปถึงไหน
2. ความสัมพันธ์ (ต้องไม่มีสระอุ) เป็นแบบ 1:1 หรือ 1:M (สามีมีภรรยาได้หลายคนหรือไม่)
3. ข้อมูลจะมี 2 ส่วนที่เกี่ยวข้องกันคือ สายตระกูล และข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นให้แยกเรื่องสายตระกูลเป็นหลักก่อน ส่วนที่อยู่น่ะค่อยใส่เข้าไปภายหลังได้
4. เห็นว่ามีใส่เรื่อง "เลขที่บัตร ปชช." แน่ใจหรือเปล่าครับ ว่าจะใส่ข้อมูลส่วนนี้ เพราะปัญหาตรงนี้เยอะมากนะขอบอก ดังนั้นกำหนด ID บุคคลแทนจะดีกว่า
5. เรื่องความย้อนแย้งที่คุณว่าน่ะ จะสร้างปัญหาเมื่อสายตระกูลใหญ่มากๆ ได้ เพราะอาจเกิดกรณี หลานชั้น 3 ของตระกูล มาแต่งงานกับเหลนชั้น 4 ของตระกูลแต่คนละสายได้ ดังนั้นถ้าวางระบบเป็น Layer โดยไม่ต้องสนใจเงื่อนไขพวกนี้จะดีกว่า เพราะเรื่องนี้เป็นการบันทึกความจริง ซึ่งความจริงก็จะมีเงื่อนไขแบบนี้อยู่ในตัวอยู่แล้ว
6. มองหาแกนหลักของตระกูล เช่น จากต้นตระกูล > รุ่นที่ 2 ที่เป็นลูกของต้นตระกูล พวกสามี/ภรรยา ก็ใช้เป็นข้อมูลรองของรุ่น 2 (เหมือนกับการเพิ่มข้อมูลเบอร์โทรอะไรงี้)

323
เป็นเรื่องของ Data Type ครับ
ถ้าฟิลด์นี้เกิดจากการคำนวณ ต้องกำหนดประเภทของข้อมูลด้วย ประมาณ CDbl หรือไงนี่แหละ ไม่แน่ใจ จำไม่ได้

324
ก็ต้องใส่คำสั่ง Total เข้าไปสิครับ

หน้า: 1 ... 15 16 17 [18] 19 20 21 ... 35